ความผิดอาญาต่อส่วนตัว เมื่อไม่ติดใจเอาความ ยอมถอนคำร้องทุกข์ คดีย่อมเลิกแล้วต่อกัน

ความผิดอาญาต่อส่วนตัว เมื่อไม่ติดใจเอาความ ยอมถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือ ยอมความคดีย่อมเลิกแล้วต่อกัน

ตามป.วิอาญา มาตรา ๓๙  สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้

(๒) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย

ความผิดต่อส่วนตัว อันยอมความได้

ความผิดต่อส่วนตัว หรือ ความผิดอันยอมความได้ เช่นความผิดฐานฉ้อโกง ทำให้เสียทรัพย์ บุกรุก ยักยอกทรัพย์ หมิ่นประมาท ฯลฯ ความผิดพวกนี้คู่กรณีสามารถทำการยอมความกันได้ในเรื่องการยอมความในคดีอาญานี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2503 ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวผู้เสียหายได้ขอถอนคำร้องทุกข์แล้วเพราะผู้ต้องหาจะยอมใช้เงิน ภายหลังผู้เสียหายจะกลับมาแจ้งความในเรื่องนั้นอีกหาได้ไม่สิทธินำคดีมาฟ้องของผู้เสียหายย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2540 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา83,362,365ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่2มีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365(3)อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดินหากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดินมิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวโจทก์หามีสิทธิขอถอนฟ้องจำเลยที่2ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3ได้ไม่แต่ต่อมาภายหลังเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่2มีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวเมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดและตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์อ้างว่าโจทก์และจำเลยที่2ตกลงกันได้โจทก์จึงไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยที่2ต่อไปจำเลยที่2ไม่คัดค้านและท้ายคำร้องดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วยคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์จึงเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยที่2ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่