ยกปืนเล็งใส่ผู้อื่น มีความผิด?

           การยกปืนเล็งไปยังผู้อื่น ไม่ได้มีความผิดฐานพยายามฆ่าตาม ป.อ.มาตรา 288,80 ทันที

 เราต้องดูเจตนาประกอบด้วยว่าเขามีเจตนาฆ่าหรือไม่

โดยหากจำเลยมีเจตนาฆ่า เพียงยกปืนขึ้นเล็งก็มีความผิดฐานพยายามฆ่าเเล้วตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,80

 แต่หากว่าจำเลยยกปืนเล็งโดยมีเจตนาเพียงเพื่อข่มขู่ให้เกิดความกลัวเท่านั้น โดยไม่ได้มีเจตนาฆ่า

ดังนี้ไม่ถือเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า แต่อาจมีความผิดฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวโดยการขู่เข็ญตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 392

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๓๓/๒๕๕๖ อาวุธปืน เป็นอาวุธที่สามารถทำอันตรายบุคคลถึงแก่ชีวิตได้ในระยะไกลหากจำเลยมีเจตนาฆ่าและกระทำได้โดยผู้เสีย

หายไม่รู้ตัว ไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องไปปรากฎตัวให้ผู้เสียหายและคนที่เล่นสะบ้าเห็นด้วย การเดินเข้าไปใช้อาวุธปืนจ้องผู้เสีย

หายในระยะใกล้ 2-3เมตร พฤติการณ์ที่จำเลยใข้ปืนจ้องในระยะใกล้และพูดกับผู้เสียหายต่อหน้าคนอื่นหลายคนโดยไม่ยิงทันที แม้จะฟังว่า จำเลยเอานิ้วสอดไว้ในโกร่งไกปืน หากจำเลยมีเจตนาฆ่าย่อมมีช่วงเวลาเพียงพอที่จะเหนี่ยวไกปืนยิงผู้เสียหายได้ก่อนที่ อ.จะพูดห้ามและผลักจำเลย การที่จำเลยไม่ได้ยิงปืน แต่กลับถือปืนวิ่งออกจากลานบ้านที่เกิดเหตุไปที่ถนนห่างออกไป 15 -20 เมตร แล้วยิงขึ้นฟ้า 1 นัด แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีจุดประสงค์อื่นมากกว่าจะเอาชีวิตผู้เสียหาย จำเลยเพียงแต่ต้องการแสดงให้ผู้เสียหายเห็นว่าจำเลยมิได้เกรงกลัวผู้เสียหายกับน้องชาย เท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า พิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกากรณีที่เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า

         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2503 การที่จะลงโทษบุคคลฐานพยายามฆ่าคนนั้น ข้อเท็จจริงจะต้องได้ความว่า จำเลยมีเจตนากระทำการเพื่อฆ่าด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2518 การที่จำเลยยกปืนที่บรรจุกระสุนซึ่งพร้อมที่จะยิงได้จ้องไปยังผู้เสียหายโดยมีเจตนาที่จะยิง แต่มีผู้ร้องห้ามและเข้ากอดจำเลยไว้ ประกอบกับผู้เสียหายวิ่งหนีเสียทัน แม้จะไม่ได้ความชัดว่า ปืนนั้นได้ขึ้นนกแล้ว หรือนิ้วมือจำเลยแตะอยู่ในไกปืนพร้อมที่จะยิงได้แล้วหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นแล้ว

  (เพิ่มเติมคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2555)

         คำพิพากษาศาลฎีกา กรณีที่ไม่เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6496/2541ผู้เสียหายกับจำเลยต่างมีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน ทั้งก่อนเกิดเหตุคดีนี้เล็กน้อยผู้เสียหายกับจำเลยก็ยังมีปากเสียงโต้เถียงกัน ต่อมาจำเลยเดินเข้าไปหาผู้เสียหาย แล้วจำเลยชักอาวุธปืนสั้นซึ่งยังใส่อยู่ในซองปืนออกจากเอวเล็งไปทางผู้เสียหายขณะอยู่ห่างกันประมาณ 2 เมตร ทั้งจำเลยยังพูดอีกด้วยว่า “มึงจะลองกับกูหรือ มึงอยากตายหรือไง” ลักษณะกิริยาอาการตลอดจนคำพูดของจำเลยแสดงแจ้งชัดอยู่ในตัวว่า จำเลยใช้อาวุธปืนขู่เข็ญผู้เสียหาย การที่จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงใช้ประหัตประหาร แม้จะยังอยู่ในซองปืน กระทำการดังกล่าวแล้วตามวิสัยวิญญูชนผู้ตกอยู่ในภาวะอันมิได้คาดคิดมาก่อน ย่อมจะต้องตกใจกลัว ผู้เสียหายซึ่งประสบเหตุการณ์เช่นนี้ก็มิได้พูดอะไรกับจำเลย ทั้งที่ก่อนหน้านั้นยังโต้เถียงกับจำเลย แต่ผู้เสียหายกลับขับรถจักรยานยนต์ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจทันที แสดงว่าผู้เสียหายกลัวภัยที่จะเกิดขึ้นแก่ตนแล้วตามวิสัยปุถุชนทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 392

(เพิ่มเติมคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2529, 2412/2530,1389/2529 )

ปรึกษากฎหมายโทร 0924533393 ,0877112224 หรือไลน์พิมพ์ @freelaw

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่